วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

NDTechnology รับออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์

การออกแบบและพัฒนาเว็บไซท์

การออกแบบและพัฒนาเว็บไซท์

การสร้างเว็บไซท์ นอกเหนือจากการใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อออกแบบ สร้างภาพกราฟิกสำหรับตกแต่ง และใช้โปรแกรมสร้างเว็บไซท์อย่าง Dreamweaver เพื่อจัดหน้าเว็บเพจ แต่ความจริงแล้วงานดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาเว็บไซท์ทั้งหมดเท่านั้น เพราะหากคุณต้องการเว็บไซท์ที่ตรงกับวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จ ก็จำเป็นจะต้องมีการเตรียมการที่ดี ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ตลอดจนพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เช่นเดียวกับการพัฒนาโครงการประเภทอื่นโดยทั่วไป
การสร้างเว็บไซท์ที่มีคุณภาพมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอยู่มากมาย ซึ่งเราจะต้องหาข้อมูล วิเคราะห์ และตัดสินใจก่อนที่จะถึงขั้นลงมือทำจริง ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ของเว็บไซท์คืออะไร ใครเป็นกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย ทีมงานมีใครบ้างและแต่ละคนเชี่ยวชาญในเรื่องใด
ขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซท์
กระบวนการพัฒนาเว็บไซท์แบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งตำราแต่ละแหล่งมักให้ข้อมูลไม่ตรงกัน ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จึงขอรวบรวมและสรุปออกมาใหม่ เพื่อให้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้เป็นแนวทางในการสร้างเว็บไซท์ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดกล่าง

กำหนดเป้าหมายและวางแผน (Site Definition and Planning)
ในการพัฒนาเว็บไซท์เราควรกำหนดเป้าหมาย และวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การทำงานในขั้นต่อ ๆ ไปมีแนวทางที่ชัดเจน เรื่องหลัก ๆ ที่เราควรทำในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าเว็บไซท์นี้ต้องการนำเสนอหรือต้องการให้เกิดผลอะไร
2. กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย เพื่อจะได้รู้ว่าผู้ชมหลักของเราคือใคร และออกแบบเว็บไซท์ให้ตอบสนองความต้องการหรือโดยใจผู้ชมกลุ่มนั้นให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเนื้อหา โทนสี กราฟิก เทคโนโลยีที่นำมาสนับสนุน และอื่น ๆ
3. เตรียมแหล่งข้อมูล เนื้อหาหรือข้อมูลคือสาระสำคัญที่แท้จริงของเว็บไซท์ เราต้องรู้ว่าข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้จะมาจากแหล่งใดได้บ้าง
4. เตรียมทักษะหรือบุคลากร การสร้างเว็บไซท์ต้องอาศัยทักษะหลาย ๆ ด้าน เช่นในการเตรียมเนื้อหา ออกแบบกราฟิก เขียนโปรแกรม และการดูแลเว็บเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น
5. เตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซท์โปรแกรมสำหรับ สร้างเว็บไซท์โปรแกรมสำหรับสร้างกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และมัลติมีเดีย โปรแกรมยูทิลิตี้อื่น ๆ ที่ต้องใช้ การจดทะเบียนโดเมนเนม ตลอดจนการเตรียมหาผู้ให้บริการรับฝากเว็บไซท์และเลือกแผนบริการที่เหมาะสม

วิเคราะห์และจัดโครงสร้างข้อมูล (Analysis and Information Architecture)
ขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้จากขั้นแรก ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ คุณลักษณะ ข้อจำกัดของกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย รวมทั้งนี้หาหลักของเว็บไซท์ นำมาประเมิน วิเคราะห์ และจัดระบบ เพื่อให้ได้โครงสร้างข้อมูล และข้อกำหนดซึ่งจะใช้เป็นกรอบสำหรับการออกแบบและดำเนินการในขั้นต่อ ๆ ไป ผลที่ได้รับจากขั้นนี้ควรประกอบไปด้วย
- แผนผังโครงสร้างของเว็บไซต์
- ระบบนำทางหรือเนวิเกชั่นซึ่งผู้ชมจะใช้สำหรับเปิดเข้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์
- องค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในเว็บเพจมีอะไรบ้าง เช่น รูปภาพและภาพกราฟิกเสียง,วิดีโอ, มัลติมีเดีย, แบบฟอร์ม ฯลฯ
- ข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะหน้าตาและรูปแบบของเว็บเพจ
- ข้อกำหนดของโปรแกรมภาษาสคริปต์หรือเว็บแอพพลิเคชั่น และฐานข้อมูลที่ใช้ในเว็บไซท์
- คุณสมบัติของเว็บเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงข้อจำกัด และบริการเสริมต่าง ๆ ที่มีให้

ออกแบบเว็บเพจและเตรียมข้อมูล (Page Design and Content Editing)
เป็นขั้นตอนการออกแบบเค้าโครงหน้าตา และลักษณะด้านกราฟิกของหน้าเว็บเพจ เพื่อให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ความรับรู้ต่อเว็บเพจตามที่เราต้องการ ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่นี้จึงควรมีความสามารถทางด้านศิลปะพอสมควร โปรแกรมที่เหมาะจะใช้ในการออกแบบ คือ Adobe Photoshop หรือ Macromedia Fireworks ซึ่งผลที่ได้จะประกอบด้วยไฟล์กราฟิกต่าง ๆ ที่ใช้บนเว็บเพจ เช่น โลโก้, ภาพพื้นหลัง, ปุ่มเมนู, ไอคอนที่เป็นหัวคอลัมน์ และแบนเนอร์โฆษณา
การออกแบบเว็บเพจน์ยังรวมไปถึงการกำหนดสีสันและรูปแบบของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ไม่ใช้ภาพกราฟิก เช่น ฟอนด์ ขนาด และสีข้อความ, สีพื้นบริเวณที่ว่าง, สีและลวดลายของเส้นกรอบ เป็นต้น
ในส่วนของเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการนำเนื้อหาที่เลือกไว้มาปรับแก้ และตรวจทานความถูกต้อง เพื่อให้พร้อมสำหรับจะนำไปใส่เว็บเพจแต่ละหน้าในขั้นตอนถัดไป

ลงมือสร้างและทดสอบ (Construction and Testing)
เป็นขั้นตอนที่เว็บเพจจะถูกสร้างขึ้นมาจริงทีละหน้า ๆ โดยอาศัยเค้าโครงและองค์ประกอบกราฟิกตามที่ออกแบบไว้ เนื้อหาต่าง ๆ จะถูกนำมาใส่และจัดรูปแบบ ลิงค์และระบบนำทางถูกสร้าง องค์ประกอบเสริมต่าง ๆ ถูกวางเข้าที่อย่างไรก็ตาม เมื่อลงมือสร้างเว็บเพจจริงเราอาจพบว่าสิ่งที่ออกแบบไว้แล้ว บางอย่างไม่เหมาะสม หรือควรได้รับการปรับแต่ง ก็สามารถทำได้โปรแกรมที่ใช้ในขั้นตอนนี้ก็คือโปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซท์
เว็บไซท์ที่สร้างขึ้นมาควรได้รับการทดสอบก่อนที่จะนำออกเผยแพร่ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความถูกต้องของเนื้อหา การทำงานของลิงค์และระบบนำทาง ตรวจหาความผิดพลาดของโปรแกรมสคริปต์และฐานข้อมูล นอกจากนี้ก็ควรทดสอบโดยใช้สภาพแวดล้อมที่เหมือนกับของกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย

เผยแพร่และส่งเสริมให้เป็นที่รู้จัก (Publishing and Promotion)
โดยทั่วไปการนำเว็บไซท์ขึ้นเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตจะทำด้วยการอัพโหลดไฟล์ทั้งหมด คือ HTML และไฟล์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขึ้นไปเก็บบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เราเปิดบริการไว้ การอัพโหลดเว็บไซท์ หรือบางครั้งเรียกว่า “พับลิช” (Publish) อาจทำด้วยโปรแกรมสร้างเว็บไซท์เอง ซึ่งมีคุณสมบัตินี้อยู่ในตัวหรืออาจใช้โปรแกรมยูทิลิตั้งประเภท FTP เช่น CuteFTP และ WS_FTP หรือใช้เครื่องมืออื่นบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ก็ได้
หลังจากนั้นเว็บไซท์ควรได้รับการทดสอบอีกครั้ง เพื่อตรวจหาปัญหาบางอย่างที่ไม่สามารถทดสอบบนคอมพิวเตอร์ของเราเอง เช่น ลิงค์ของเว็บเพจกับเว็บไซท์อื่น และการทำงานของโปรแกรมสคริปต์กับฐานข้อมูล ซึ่งอาจทำไม่ได้บนเครื่องของเรา หรือบนเว็บเซิร์ฟเวอร์อาจมีสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไป
เว็บไซท์ที่จะประสบความสำเร็จ นอกจากต้องมีเนื้อหาที่ดี มีการวางโครงสร้าง และการออกแบบที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องได้รับการโฆษณา และส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้ชมเป้าหมายหรือในวงกว้างออกไปอีกด้วย การส่งเสริมนี้มีกลยุทธ์ที่ทำได้หลายวิธี ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเสมอไป โดยสามารถทำได้ตั้งแต่แบบง่าย ๆ คือ การแลกเปลี่ยนลิงค์และแบนเนอร์ ประกาศบนเว็บบอร์ดสาธารณะ การส่งอีเมล์ เพิ่มข้อมูลในเสิร์ชเอนจิ้น หรือเว็บไดเร็คทอรี เรื่อยไปจนถึงแบบที่ใช้งบประมาณมากขึ้น เช่น การจัดงานเปิดตัวการลงโฆษณาบนเว็บไซท์อื่น ในสิ่งพิมพ์ หรือในวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น

ดูแลและปรับปรุงต่อเนื่อง (Maintenance and Innovation)
เว็บไซต์ที่เผยแพร่ออกไปแล้วเราไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรดูแลโดยตลอดซึ่งหน้าที่นี้ครอบคลุมหลายเรื่อง ตั้งแต่การตรวจสอบเว็บเซิร์ฟเวอร์ว่าไม่หยุดทำงานบ่อย ๆ ลิงค์ที่เชื่อมโยงไปภายนอกยังคงใช้ได้หรือไม่ คอยตอบอีเมล์หรือคำถามที่มีผู้ฝากไว้บนเว็บเพจ, ถ้าเป็นเว็บข่าวสารก็ต้องปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา ถ้ามีการใช้ฐานข้อมูลก็ต้องแบ็คอัพข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนั้นเราควรตรวจสอบสถิติของการเข้าชมเป็นระยะ ๆ ซึ่งเป็นบริการเสริมที่เว็บเซิร์ฟ เวอร์มักมีให้ เช่น จำนวนผู้ชม, สถติว่าเว็บเพจใดมีผู้ชมมากหรือเป็นที่นิยม, ผู้ชมมีการเปลี่ยนคุณสมบัติ ไปหรือไม่ หรือมาสู่เว็บไซท์ของเราจากทิศทางใดมากที่สุด
หลังจากที่เว็บไซท์ได้รับการเผยแพร่ไประยหนึ่ง เราควรปรับปรุงเพื่อให้ผู้ชมรู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลง มีความสดใหม่ ทันสมัย โดยอาจนำข้อมูลสถิติที่รวบรวมไว้มาพิจารณาประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงทำได้ทั้งในส่วนของเนื้อหา โครงสร้างเว็บไซท์ การออกแบบหน้าตา และการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาเสริม

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/207394


คลิก.........